GHS การแบ่งกลุ่มและติดฉลากสารเคมี

ตอนแรกวางแผนว่า จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับผักผลไม้ ที่มีสีต่างๆกันจะช่วยป้องกันโรคที่แตกต่างกันได้ แต่แล้วก็ต้องมาถูกขัดจังหวะ ด้วยเรื่องสารเคมี อีกแล้ว จนได้

อันเนื่องจากวันดีคืนดี ได้รับโทรศัพท์จากองค์การอาหารและยา (อย.)

“อาจารย์ค่ะ อาจารย์เป็นคนแปล GHS บทที่3 อันตรายต่อสุขภาพใช่ไหมค่ะ”  รีบตอบด้วยความภาคภูมิใจทันทีว่า ใช่ค่ะ หลังจากนั้นก็เกิดบทสนทนายาว ได้ความดังนี้ว่า จะมีการอบรมเรื่องนี้โดย องค์การสหประชาชาติ ซึ่งสนับสนุนให้วิทยากรมา 2 คน หนึ่งคนเป็นคนเยอรมัน (อีกแล้ว) และอีกหนึ่งคนเป็นคนไอริช ซึ่งงานนี้อย. จะเป็นผู้ประสานงาน งานนี้สำคัญมาก อันเนื่องจาก GHS มีการปรับปรุงใหม่ มีการเพิ่มเติมแก้ไขให้ทันสมัยอีกพอประมาณ และที่สำคัญถึงเวลาที่จะต้องเอาจริงเอาจังกันทั้งโลก แล้ว จึงต้องมีการสนับสนุนเพื่อทำให้เกิด ระบบที่เป็นหนึ่งเดียวทั่วโลกในการจัดจำแนกกลุ่มและติดฉลากของสารเคมี เสียที

ดังนั้น ช่วงอาทิตย์นี้ อาจารย์สรา ต้องแปลงร่างไปเรียนหนังสือ อนาคตหวังว่าจะมีส่วนร่วมในการนำความรู้ไปสู่ทุกภาคส่วนตามจุดประสงค์ของ GHS  ซึ่ง GHS จะใช้ในส่วน

1. สถานประกอบการ Workplace/Industry

2. เกษตรกรรม Agricultural

3. การขนส่ง Transport

4. ผู้บริโภค Consumer Product และอีกหนึ่งกลุ่มคือ Emergency res ponder ผู้ตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

วันนี้ยังเรียนไม่จบเลยค่ะ ชูสองนิ้วแล้วบอกว่า หนูจะพยายามค่ะ

ดร.สรา รายงาน ตรงจาก UNITAR-Thailand Workshop on Training and Capacity Building for the Implementation of the GHS โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ