กล้ามเนื้อกับการยศาสตร์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา อาจารย์ได้ไปช่วยศิษย์เก่าเก็บตัวอย่างค่า EMG เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำการตรวจติดตามความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ทั้งนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากบริษัทหริกุล ซึ่งให้ขอยืมเครื่องมือ อาจารย์ก็ได้ทำการทดลองใช้เครื่องมือด้วย พวกเราดำเนินการติดอิเลคโทรดกับกล้ามเนื้อส่วนบ่า ไหล่ ของพนักงานในโรงงานอิเลคทรอนิค น้องๆ ได้ให้ความร่วมมืออย่างดี ข้อมูลที่เก็บคือช่วงทำงานตอนเช้า และช่วงทำงานก่อนที่จะกลับบ้าน นักศึกษาตั้งใจเปรียบเทียบค่าสูงสุดของความสามารถของกล้ามเนื้อ ข้อมูลที่ได้นอกจากจะใช้ในวิทยานิพนธ์แล้ว ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ หรือแปลง่ายๆคือ เห็นกันจะ จะ เห็นกันชัดๆ เลย ว่าพอทำงานเก็บชิ้นงานไปได้สัก 2000 ชิ้น กล้ามเนื้อของน้องๆ จะเป็นอย่างไรบ้าง และมีของแถมว่า และท่าทางเอื้อมสุดแขน กับท่าทางที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งบางคนบอกว่าไม่ถนัดนั้น น้องๆ จะได้เห็นรูปกราฟที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อาจารย์คาดหวังว่าเมื่อดำเนินการเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ ประเทศไทยจะมีผลงานดีๆออกมาจากนักศึกษาซึ่งมีความตั้งใจสูง และขอบคุณบริษัทหริกุลซึ่งให้ขอยืมเครื่องมือเพื่อนำมาใช้ในการทำสิ่งที่ดีๆกับสังคมค่ะ

อาจารย์สรา

7 thoughts on “กล้ามเนื้อกับการยศาสตร์

  1. EMG เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่น่าสนใจมากค่ะ อยากมีโอกาสศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่รู้ว่ามีจัด course อบรม (ฟรี) ที่ไหนบ้างคะ…จะหาทางไปเรียนให้ได้ ^^

  2. หากมี request ก็จะจัดที่นี่เร็วๆนี้ ท่านมาช้าไปจ้า เพราะว่า ในห้องเรียน ป.โท ของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย ภาคปกติ เราได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำการเลยจ้า จัดหาผู้เชี่ยวชาญมา เครื่องมือมา เรียบร้อยไปแล้ว รุ่นใดไม่ได้เรียน กลับมาเรียนได้ใหม่ค่ะ ขณะนี้เครื่องมือของเราพร้อม คนเราพร้อม จะมีอีกเมื่อไร จะรีบกระจายข่าวทันทีค่ะ

  3. สมควรอย่างยิ่งที่จะจัดย้อนหลังให้ศิษย์เก่าคะ ^^

  4. เดี๋ยวพี่จะพยายาม นะ มีแนวคิดเลยว่า จะสาธิตให้ป.โท ภาคพิเศษ รุ่นใหม่ซึ่งไม่ได้เรียนการยศาสตร์ ให้ได้รู้จักเครื่องมือบางตัว และคงเป็นเสาร์อาทิตย์ อย่างไรแล้ว พี่ว่าโอกาสเป็นไปได้สูงนะ soon จ้า หากทำอะไรแล้วเป็นประโยชน์ พี่คิดว่า ต้องทำ แต่หากทำไปแล้ว คิดว่าต้องไปเกณฑ์คนนั้นคนนี้มาฟัง ทำไปก็ไม่สุขใจนะ

    เรื่องอย่างนี้หากคิดว่า ทำแล้วสุขใจ เท่านั้นก็พอ ไม่ได้หรอกจ้า เพราะในกรณีที่เราคิดจะทำขั้นก้าวหน้า ให้รู้จักกล้ามเนื้อทุกท่า นั้น ในเรื่องเครื่องมือเครื่องไม้และคนมาสาธิต เรา(อาจเริ่ม)ไปรบกวนคนอื่นเขา แต่ถ้าทำแล้วเป็นประโยชน์กับคนมากๆ พี่ก็ยินดี

    เข็ดแล้วกับการที่ ทำแล้วเพียงเราที่สุขใจ เพราะเคยรบกวนทำให้คนอื่นเขาต้องมาลำบากด้วยเยอะแยะมาก เพียงแต่เราสุขใจได้ช่วยคนบางกลุ่ม ซึ่งคนถูกช่วยก็ไม่ได้ซาบซึ้งอะไรกับการช่วยเหลือของเรา แต่ในขณะเดียวกันลืมไปว่า เราต้องไปรบกวนคนอีกกลุ่ม ให้ร่วมช่วยเหลือคนกลุ่มนั้นด้วย คนบางกลุ่มเขาเดือนร้อนหรือเขายินดี เขาเกรงใจหรือช่วยเพราะรักเรา

    comment ยาวไปหน่อย แต่ทั้งหมด จากใจ และคิดว่าหากมีคนได้อ่าน ณ เวลานี้ คงจะพอเข้าใจ ณ เวลานี้ (อีกครั้ง) อาจารย์ไม่ทุกข์แล้วค่ะ มัวแต่ไปโง่ทุกข์อยู่ในใจหลายปี ด้วยการกระทำของคนอื่นอยู่ตั้งหลายปี ตอนนี้สบาย สบายค่ะ ไปๆมาๆ มาเรื่องนี้ได้ไง

    สรุป รอฟังข่าวดีจ้า

  5. เพิ่มเติมสักนิด เครื่องมือที่บอกว่าพร้อม เรามีบางส่วน (พร้อมระดับ 1 ยังไม่พร้อมระดับ 2 ) แต่ตัวเท่ๆ ที่อยากให้เห็นก็ต้องยืม สำหรับ คนสาธิต นั้น พี่ว่า เอาแบบคนมีประสบการณ์ด้วย คนทำวิจัยเรื่องนี้ด้วย นอกเหนือจากอาจารย์สราเพียงคนเดียว จะดีที่สุดจ้า

  6. สวัสดีครับ อ.สรา ผมนักศึกษาสูงเนิน รุ่น 10 เนื้อหาที่เรียนยากจังเลยคับ ผมตามไม่ค่อยทัน เลยแอบแวะเข้ามาดูเนื้อหาอื่นๆใน Block อาจารย์ ทักทายนะคับ

  7. อยากได้ slide ที่สอนครับ เผื่อจะได้ทำความเข้าใจเพิ่ม ขอบคุณล่วงหน้าคับ

    น.ศ. ส.บ. 10 สูงเนิน

Leave a comment